เร่งสร้างความร่วมมือโลจิสติกส์และการค้าชายแดน ศูนย์การศึกษาโลจิสติสก์และการค้าชายแดน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จับมือกับกรมการค้าต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์ขับเคลื่อนการสร้างความร่วมมือด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดนให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยร่วมมือกับหน่วยงานในจังหวัด เช่นสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ภาคเอกชน หอการค้าจังหวัดเลย สภาอุตสาหกรรมส่วนกลางและจังหวัดเลย ตลอดจนสภาเกษตรจังหวัดเลย ในพื้นที่ชายแดน ไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้สร้างรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนแนวใหม่เรียกว่า “เลยโมเดล” เพื่อเป็นแนวในการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนในพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย
ในวันที่ 18 และ19 มีนาคม 2560 ได้จัดกิจกรรม Foreign Trade Capacity Building and People Connectivity ภายใต้โครงการ “การพัฒนาผู้ประกอบการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว การเกษตรและการค้าชายแดน ณ อำเภอเมือง จังหวัดเลย ประเทศไทย และแขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีกิจกรรม 2 สองส่วน คือ อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับประกอบการโลจิสติกส์และการค้าชายแดน จังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย 84 คน และประเทศ แขวงหลวงพระบาง และแขวงไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 25 `คน เพื่อเพิ่มความรู้ด้านการค้าต่างประเทศเตรียมพร้อมที่จะสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ จับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ในประเทศเพื่อนบ้าน ที่โรงแรมฟอร์ร่า ฮิลล์ รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดเลย
กิจกรรมในส่วนที่สอง เดินทางไปทำกิจกรรมจับคู่ธุรกิจที่ แขวงไชยบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นักธุรกิจในซึ่งมีท่านยรรยง ศรีประเสริฐ รองเจ้าแขวงเมืองไชยะบุรี และท่านอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานในพิธีลงนามจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ของนักธุรกิจไทย ลาว ในกิจกรรมดังกล่าวมีนักธุรกิจ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐและสภาการค้าไทย – ลาว ร่วม 85 คน ได้มีการพบปะแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือทางธุรกิจในกลุ่มต่างๆ มีนักธุรกิจลงนามจับคู่ธุรกิจในกิจกรรมครั้งนี้ 10 คู่ ประกอบด้วย ธุรกิจด้าน โลจิสติสก์ 1 คู่ ธุรกิจด้านอาหารแปรรูป 2 คู่ ธุรกิจด้านค้าวัสดุก่อสร้างและเฟอร์นิเจอร์ 2 คู่ ธุรกิจด้านความงาม 1คู่ คอมพิวเตอร์ 1คู่ โรงงานน้ำแข็ง 1 คู่ ธุรกิจการเกษตร 1 คู่ และธุรกิจด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยว 1 คู่ คาดว่าจะส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดนในอนาคตกิจกรรมดังกล่าวได้สร้างความร่วมมือทางโลจิสติกส์และการค้าชายแดนให้กับผู้ประกอบการใน 2 ประเทศ และสร้างความประทับใจให้กับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก และคาดว่าในช่วงต่อไปจะมีการขับเคลื่อน “เลยโมเดล” ไปพื้นที่และแขวงอื่นๆ ใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอีกต่อไป