เกี่ยวกับเรา


  • ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ที่มาและความสำคัญของการจัดตั้งศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ฯ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

          มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล ในปี พ.ศ. 2559 ได้รับงบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์ นโยบายสำคัญของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2559 เพื่อดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งสอดรับกับ พันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การวิจัยและบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จึงได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้บริการข้อมูลข่าวสาร บริการวิชาการและวิจัยพัฒนาในด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดนให้กับผู้ประกอบการ นักศึกษา บุคลากรหน่วยงานต่างๆ ในท้องถิ่น ครอบคลุม 6 จังหวัด ประกอบด้วย 1)จังหวัดเลย 2)จังหวัดหนองบัวลำภู 3)จังหวัดอุดรธานี 4)จังหวัดหนองคาย 5)จังหวัดบึงกาฬ และ6)จังหวัดขอนแก่น และเชื่อมโยงกับต่างประเทศ มีแนวทางในการดำเนินงานโดยบูรณาการหน่วยงาน 3 ส่วน คือ หน่วยงานภาคเอกชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยและภูมิภาคภายใต้กรอบ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ตามยุทธศาสตร์  พัฒนาระบบ โลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและภูมิภาค และจังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน สปป.ลาว เวียดนาม และจีน มีการค้าชายแดนและเชื่อมโยงกับจังหวัดอื่นๆในภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ  เศรษฐกิจในท้องถิ่น ภูมิภาค อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่สมดุลและยังยื่นต่อไป

          วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้แก่

  1. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยและภูมิภาคภายใต้กรอบ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
  2. ตอบสนองรัฐบาลที่สำคัญ คือ พัฒนาระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐานในประเทศและภูมิภาค
  3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล และมีพันธกิจหนึ่งคือ การบริการวิชาการแก่สังคม
  4. เผยแพร่ความรู้ด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดนให้กับผู้ประกอบการและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
  5. จังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียงที่มีพื้นที่ติดต่อมีศักยภาพในด้านการค้าชายแดน

สัญลักษณ์ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

cropped-LBC-LRU-Logo-ไม่มีพื้นหลัง.png

  • สีเขียว หมายถึง Green Logistics โดยให้ความหมายรวมไปถึง Green Business และ Green Economy
  • สีทอง หมายถึง ความมั่งคั่งยั่งยืน
  • ลูกศร 3 เส้น หมายถึง 1) พันธกิจทั้งหมดที่มีด้วยกันสามพันธกิจ 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ คือ หน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา จึงกลายเป็นการประสานระหว่าง 3 พันธกิจ 3 หน่วยงานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

วิสัยทัศน์ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ภายในปี พ.ศ.2565 ศูนย์โลจีสติกส์และการค้าชายแดน จะเป็นศูนย์การสร้างความร่วมมือการวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดน โดยครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศแม่โขง-ล้านช้าง

พันธกิจศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

บริการข้อมูลข่าวสารด้านโลจิสติกส์และการค้าชายแดนส่วนกลางและส่วนภูมิภาค บริการวิชาการด้านโลจิสติกส์และการค้าขายชายแดนให้กับผู้ประกอบการและบุคคลากรให้กับภาครัฐ เอกชน การวิจัยและพัฒนาโดยสร้างเครือข่ายด้านโลจิสติกส์และการค้าขายชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อมโยงไปยังกลุ่มประเทศแม่โขง-ล้านช้าง

aec1-768x1024

แผนยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

capture-20161110-120859

โลจิสติกส์เป็นปัจจัยหลักในการสนับสนุน การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันทางการค้าการลงทุนของประเทศ เพราะโลจิสติกส์ถือเป็นต้นทุนสำคัญของผู้ประกอบการทั้งที่อยู่ในส่วนของภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทยยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น คือ เน้นการจัดส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคเป็นหลัก ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่าง ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกาอยู่ในขั้นก้าวหน้า คือ การบูรณาการระบบโลจิสติกส์ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งผลิตสินค้าแล้วเสร็จ และส่งมอบไปสู่ผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้ จึงพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังสูงอยู่เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าอื่นๆ โดยเฉพาะ เมื่อเทียบกับสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนเหมือนกัน ก็ยังมีการพัฒนาโลจิสติกส์ก้าวหน้ากว่า ดังนั้น การเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยจำเป็นต้องเริ่มต้นจากพื้นฐานของกระบวนการ ซึ่งในกระบวนการดังกล่าวผู้ประกอบการนับว่ามีบทบาทสำคัญยิ่งต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพองค์ความรู้ทักษะบุคลากรและองค์กรให้ก้าวทันยุคกระแสโลกาภิวัตน์กลุ่มผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ เป็น Partner หนึ่งในการขับเคลื่อนการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรมาก ในปี พ.ศ.2558 เมื่อมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะเกิดการเคลื่อนย้ายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการด้านโลจิสติกส์มากขึ้น เจ้าของสินค้ามีความต้องการบริการแบบครบวงจรเบ็ดเสร็จ ทั้งด้านการขนส่งและการผ่านพิธีการข้ามแดน รวมถึงการให้บริการด้านพิธีการในต่างประเทศ เกิดการแข่งขันในการให้บริการด้านโลจิสติกส์จากผู้ประกอบการรายใหญ่จากต่างประเทศ ผู้ประกอบการในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนส่วนใหญ่เป็น SME ทำให้มีอำนาจในการต่อรองน้อยจากการเปลี่ยนแปลงระบบพิธีการศุลกากรที่จะต้องนำมาใช้รองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนทำให้กลุ่มผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในพื้นที่ต้องได้รับการพัฒนาและต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้นกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู และเลย) เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีด่านศุลกากรถึง 4 แห่ง คือ ด่านศุลกากรหนองคาย ด่านศุลกากรบึงกาฬ ด่านศุลกากรเชียงคาน และด่านศุลกากรท่าลี่ มีชายแดนติดต่อกับนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของ สปป.ลาว ซึ่งเป็นความได้เปรียบด้านการคมนาคมของภูมิภาค ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาศักยภาพสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะช่วยเอื้อต่อการขยายตัวทางการค้าชายแดนในพื้นที่นี้

แผนการพัฒนาศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์ฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

%e0%b9%81%e0%b8%9c%e0%b8%99%e0%b8%af-%e0%b8%a8%e0%b8%b9%e0%b8%99%e0%b8%a2%e0%b9%8c%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%88%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%aa%e0%b9%8c