ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ อินใย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ Logistic – start up LRU บูรนาการกับภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรนา (Covid-19)
วันที่ 2 มิถุนายน 2563 ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จัดโครงการ Logistic – start up LRU เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรนา (Covid-19) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาว์ อินใย อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และร่วมลงนามในสัญญาจ้างบริการกับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ประกอบธุรกิจ ได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนการร่วมมือของภาครัฐ และเอกชน ประกอบด้วย บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีเลย (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด สำนักงานเกษตรจังหวัดเลย และ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเลย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนุชา วิลัยแก้ว ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย กล่าวว่า ทางศูนย์ฯ ได้รับการจัดสรรงบประมาณการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนบุคลากรด้านโลจิสติกส์ และนวัตกรรมโลจิสติกส์ ภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนสร้างความสามารถในการแข่งขัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีเป้าหมายสำคัญคือ พัฒนานักศึกษาและแรงงาน ให้เป็นนักโลจิสติกส์มืออาชีพ สร้างนวัตกรรมโลจิสติกส์ในพื้นที่ ลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการ
และจากผลกระทบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ส่งผลกระทบต่อทั้งนักศึกษา ผู้ประกอบการ ทั้งในรูปแบบการพัฒนานักศึกษา และการสร้างรายได้ ทางศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยจึงได้จัดโครงการ Logistic – start up LRU เพื่อลดผลกระทบจากการระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรนา (Covid-19) มีนักศึกษาจากทั้ง 5 คณะ เข้าร่วมโครงการ 25 คน และมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 37 ราย ได้รับความร่วมมือจาก ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ UBI กองพัฒนานักศึกษา คณะทั้ง 5 คณะ เป็นหน่วยงานที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ โดยพัฒนานักศึกษาผ่านหลักสูตร พัฒนานักโลจิสติกส์ start up เพื่อเป็นการสร้างรายได้ทั้งนึกศึกษา และผู้ประกอบการ ร่วมบูรนาการกับบริษัทประชารัฐรักสามัคคีเลย (วิสาหกิจเพื่อชุมชน) จำกัด
ทั้งนี้ได้มีการจัดจ้างงานระหว่างนักศึกษาและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ โดยมีค่าตอบแทน 6,000 บาท
ต่อเดือน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบมาแปรรูปจากนวัตกรรมมของหาลัย แล้วนำผลิตภัณฑ์มาจำหน่ายผ่านนักษึกษาที่อยู่ในโครงการ เช่น มะม่วงบุโฮม แปรรูปเป็นมะม่วงกวนอบแห้ง ไอศกรีมมะม่วง นอกจากนนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา และเข้าร่วมในโครงการไม่น้อยกว่า100รายการ
อันจะนำไปสู่การพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะ เป็นผู้ประกอบการใหม่ (startup LRU)และยกระดับแรงงานในพื้นที่ ให้มีศักยภาพด้านการเป็นนักโลจิสติกส์ ที่มีเป้าหมายลดต้นทุน และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนและ
E-comers รองรับการพัฒนาการตลาด ตามแนวทางความปกติใหม่ (new normal) สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน