โครงการศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพของสินค้า และเพิ่มศักยภาพเพื่อการส่งออก : กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงตําบลอาฮี อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- ศึกษาและวิเคราะห์ ชนิดและขนาดของบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง การเก็บรักษา การจัดจําหน่าย ตามหลักการวินิจฉัยและตามแนวคิดโลจิสติกส์ในกระบวนการผลิตข้าวไรซ์เบอรี่
- ออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ภัณฑ์3) ประเมินคุณภาพการพัฒนาต้นแบบบรรจุภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตและผู้บริโภคของวิสาหกิจชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงตําบลอาฮี อําเภอท่าลี่ จังหวัดเลย จํานวน 30 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (New Product Development : NPD Process) แบบสอบการประเมินบรรจุภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 คน และแบบสอบถามความพึงพอใจ หลังจากพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัย พบว่า
- การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งร้อยละ 50
- แนวทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ด้วยการเปลี่ยนชนิดของบรรจุภัณฑ์จากถุงซิปฟอยด์ก้นตั้ง เป็นถุงพลาสติกขยายข้างบรรจุแบบสุญญากาศ จํานวน 3 ขนาด 1 กิโลกรัม 500 กรัม และ250 กรัม การออกแบบฉลากกล้วยผง 1 รูปแบบ การออกแบบโลโก้ 1 รูปแบบ และ การสร้าง QR code เพื่อส่งเสริมการตลาด 3) การประเมินต้นแบบบรรจุภัณฑ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก ค่าแนน 4.19 และการประเมินความพึงพอใจของผู้ผลิตและผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.37
ผู้วิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภควดี ศิริหล้า และ นางณัชชา สมจันทร์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย