ในวันที่ 21 สิงหาคม 2562 ศูนย์การศึกษาโลจิสติกส์และการค้าชายแดน มหาวิทยาลัยราชภัฏ นำคณะผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP เข้าร่วมโครงการสร้างเครือข่ายและจับคู่ธุรกิจของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในกรุงโฮจิมินห์ โดยวัตถุประสงค์ของโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทดลองตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และสร้างเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ OTOP ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

     ถ้าจะบอกว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย”  คือ  ต้นแบบหนึ่ง ของการนำองค์ความรู้สู้การพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง ก็คงไม่ผิด แม้ว่าบทบาทสำคัญยังคงเป็นการให้ความรู้ด้านการเรียนการสอน ทางวิชาการอยู่ก็ตาม โดยยึดพระบรมราโชบายของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ ที่ว่า “มหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดทศึกษาที่มีวิศัยทัศน์สำคัญ คือเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

    เรื่องนี้ ผศ.ดร.พิชิต  พระพินิจ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และกิจการพิเศษ กล่าวว่า เมื่อมีผลงานแล้ว จำเป็นต้องถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกับชุมชนและท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยมีทรัพยากรที่มีความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ OTOP สู่เชิงพานิชย์อยู่แล้ว นั่นคือ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจชุมชน (UBI)     ศูนย์การค้าโลจิสติกส์และการค้าชายแดน ซึ่งเป็นพันธกิจที่ต้องพัฒนาผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น เพื่อขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) รวมถึงสร้างกลไกทางการตลาด เพื่อสร้างความต้องการในการบริโถคในท้องถิ่น ขยายไปสู๋จังหวัดอื่นๆ และภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น

        ทั้งนี้จุดประสงค์ของโครงการสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศเวียดนาม ก็คือ เพื่อศึกษาทดลองตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP กับคู่ค้าประเทศเวียดนามเพื่อสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการ และผู้บริโภค กลุ่มถาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และประเทศเวียดนาม โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วม ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ จำนวน 35 คน

By admin

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *